วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

คู่มือการใช้งานคอมพิวเตอร์

1. ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ (Computer)

ตามคำศัพท์ภาษาอังกฤษ จะหมายถึง เครื่องคำนวณ ซึ่งก็อาจจะหมายถึง เครื่องคำนวณที่เป็นเครื่องไฟฟ้าหรือเครื่องที่เป็นกลไกก็สามารถจัดเป็นคอมพิวเตอร็ได้ทั้งสิ้น ส่วนคอมพิวเตอร์จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า " เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์"

สรุปได้ว่า คอมพิวเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการคำนวณผลในรูปแบบหนึ่งๆได้อย่างรวดเร็วและให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและเชื่อถือได้

ลักษณะที่สำคัญของคอมพิวเตอร์
1.  ความเร็ว ( Speed ) เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานด้วยความเร็วมาก
2.  มีหน่วยความจำภายใน ( Memory ) เครื่องคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำซึ่งสามารถบันทึกข้อมูล
      (Data ) และคำสั่งต่าง ๆ ได้
3.  ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ จึงสามารถทำงานได้โดยอัติโนมัติ
4.  มีความถูกต้องแม่นยำ ( Accuracy ) คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ด้วยความถูกต้องแม่นยำเสมอ
     เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์มีระบบการทำงานที่แน่นอน
5.  ความสามารถในการเปรียบเทียบ ( Comparability ) เครื่องคอมพิวเตอร์มีหน่วยคำนวณและ
     ตรรกะ ซึ่งนอกจากจะคำนวณได้แล้วยังสามารถทำการเปรียบเทียบข้อมูลได้ดี

2. ประเภทของคอมพิวเตอร์

2.1 แอนะล็อกคอมพิวเตอร์ ( Analog Computer )
          จะมีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนทำหน้าที่เป็นตัวกระทำและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ โดยจะใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าเป็นหลักในการคำนวณ การรับข้อมูลจะรับในลักษณะของปริมาณที่มีค่าต่อเนื่องกันโดยรับจากแหล่งที่เกิดโดยตรงแล้วแสดงผลออกมาทางจอภาพ ตัวอย่างของเครื่องชนิดนี้มักพบได้ในงานคำนวณทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เช่น เครื่องที่ใช้วัดปริมาณทางฟิสิกส์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะออกมาในรูปของกราฟ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ตรวจคลื่นหัวใจ
ข้อจำกัดของแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ คือ ผลการคำนวณที่ได้จะมีความละเอียดต่ำ ทำให้ใช้ได้กับงานเฉพาะอย่างเท่านั้น

2.2  ดิจิตัลคอมพิวเตอร์ ( Digital Computer )
          หลักการคำนวณจะเป็นแบบลูกคิดหรือหลักการนับ และทำงานกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง ลักษณะการคำนวณจะแปลงเลขฐานสองก่อนแล้วจึงประมวลผลด้วยเลขระบบฐานสองแล้วให้ผลออกมาในรูปตัวเลข ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงเป็นเลขฐานสิบเพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจง่าย นอกจากนี้ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะมีความแม่นยำกว่าแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ ดิจิตัลคอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน

ข้อจำกัดของดิจิตัลคอมพิวเตอร์ คือต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า "สื่อข้อมูล" ในการบันทึกข้อมูล แต่แอนะล็อกคอมพิวเตอร์สามารถรับข้อมูลได้โดยตรงจาดแหล่งเกิดข้อมูล

2.3 ไฮบริดคอมพิวเตอร์ ( Hybrid Computer )
          เป็นการนำเอาแอนะล็อกคอมพิวเตอร์และดิจิตัลคอมพิวเตอร์มาทำงานร่วมกัน เพื่อให้สามารถทำงานเฉพาะอย่างได้ดียิ่งขึ้น

1. ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบสำคัญที่คอมพิวเตอร์ ได้แก่

3.1 หน่วยประมวลผลกลาง ( Central Processing Unit : CPU )
          ทำหน้าที่ประมวลผลและควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด โดยมีหน้า
ที่ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างหน่วยความจำด้วย ซึ่งหน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียูนี้จะประกอบด้วย

 3.1.1 หน่วยคำนวณและตรรกะ ( Arithematic and Logic Unit : ALU )
ทำหน้าที่ในการคำนวณ เช่น บวก ลบ คูณ หาร และหน้าที่ในการเปรียบเทียบทางตรรกะโดยหน่วยควบคุมจะควบคุมความเร็วในการคำนวณ

3.1.2 หน่วยควบคุม ( Control Unit )
          ทำหน้าที่ในการควบคุมกลไกการทำงานของระบบทั้งหมด โดยจะทำงานประสานงานกับหน่วยคำนวณ และหน่วยความจำ และตรรกะ     ซีพียูหลักที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน คือ ไมโครชิป หรือที่เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์   ( Microprocessor )

3.2 หน่วยความจำหลัก ( Main Memory )
          ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รอทำการประมวลผล และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวล ในระหว่างที่รอส่งไปยังหน่วยแสดงผลลัพธ์ประเภทข้องหน่วยความจำสามารถแบ่งได้ดังนี้

3.2.1 ตามลักษณะของเก็บข้อมูล จะแบ่งได้เป็น
         หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ ( Volatile Memory ) คือในกรณีที่ไฟฟ้าดับหรือกำลังไฟฟ้าไม่เพียงพอข้อมูลที่เก็บไว้ก็จะหายหมด
          หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน ( Nonvolatile Memory ) หน่วยความจำแบบนี้จะเก็บข้อมูลได้โดยไม่ขึ้นอยู่กับไฟฟ้าที่เลี้ยงวงจร

3.2.2 ตามสภาพการใช้งาน จะแบ่งได้เป็น
            หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว ( ROM ) หรือรอม เป็นหน่วยความจำชนิดไม่ลบเลือน คือซีพียูสามรถอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปได้

            หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม ( RAM ) หรือแรม เป็นหน่วยความจำแบบลบเลือนได้ คือสามารถเขียนหรืออ่านข้อมูลได้ การเขียนหรืออ่านจะเลือกที่ตำแหน่งใดก็ได้

3.3 หน่วยความจำรอง ( Virtual Memory )
          มีเพื่อเพิ่มความสามารถในการจดจำของคอมพิวเตอร์ให้มากขึ้น ตัวอย่างของหน่วย ความจำรองได้แก่
แผ่นบันทึก หรือแผ่นดิสก์ ( Diskette )
           มีลักษณะเป็นแผ่นกลมแบน ถูกเคลือบไว้ด้วยสารเหล็กออกไซด์ เพื่อให้เกิดสนามแม่เหล็กได้ การอ่านข้อมูลของแผ่นดิสก์เวลาที่อ่านหัวอ่านจะแตะที่พื้นผิวของแผ่น ทำให้มีการเสื่อมคุณภาพได้เมื่อใช้ไปนานๆ แผ่นบันทึกในปัจจุบันมีขนาด 5.25 นิ้วและ 3.5 นิ้ว

 ฮาร์ดดิสก์ ( Harddisk )

            การเก็บข้อมูลจะเก็บลงแผ่นโลหะอะลูมิเนียมที่เคลือบด้วยสารเหล็กออกไซด์ ฮาร์ดดิสก์สามารถบรรจุข้อมูลได้มากกว่า และมีความเร็วกว่าฟลอปปี้ดิสก์ การบันทึกข้อมูลในฮาร์ดดิสก์จะแบ่งเป็นวงรอบเรียกว่า แทร็ก ( Track ) ซึ่งจะเก็บข้อมูลเป็นวงรอบหลาย ๆ วง การที่เราฟอร์แมต     ( Format ) ฮาร์ดดิสก์เวลาที่เราซื้อมาใหม่ ๆ นั้นก็เพื่อสร้างแทร็กนั่นเอง และในแต่ละแทร็กจะแบ่งออกเป็นส่วน ๆ เรียกว่า เซ็กเตอร์ ( Sector ) โดย 1 เซ็กเตอร์จะมีความจุเท่ากับ 512 ไบต์ การอ่านข้อมูลของฮาร์ดดิสก์เวลาที่อ่านหัวอ่านจะไม่แตะที่พื้นผิวของแผ่นแต่จะลอยสูงจากผิวประมาณ 4 ไมครอน ซึ่งถือว่าใกล้มากจนเกือบสัมผัส

 ซีดีรอม ( Compact Disk Read only Memory : CDROM )
          เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่มีความเร็วในการใช้งานสูง และสามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ซีดีรอมเป็นเทคโนโลยีจานแสง คือ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลนั้นหัวอ่านไม่ต้องสัมผัสกับจานแต่จะใช้ลำแสงส่องและสะท้อนกลับ ซีดีรอมนี้สามารถเก็บข้อมูลที่เป็นข้อความ รูปภาพ เสียงและภาพวีดีโอ

 เวิร์ม ( Write Once Read Many : WORM )

          เป็นสื่อชนิดที่มีการบันทึกแล้วไม่มีการบันทึกใหม่ แต่จะมีการเรียกใช้หรืออ่านได้หลายครั้ง การที่จะเขียนข้อมูลลงแผ่นต้องใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ ตัวแผ่นเป็นโลหะและใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเมนเฟรม

3.4 อุปกรณ์รับเข้า (Input Device)
          ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รับเข้าที่เป็นที่
รู้จักและนิยมใช้ได้แก่

แป้นพิมพ์ ( Keyboard )

         เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ทุกเครื่องจะต้องมีการรับข้อมูลคือ ผู้ใช้กดแป้นพิมพ์แล้วจึงแปลงรหัสเข้าสู่การประมวลผลต่อไป

 เมาส์ (Mouse)

           เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานเพิ่มมากขึ้น เมาส์จะมีรูปร่างพอเหมาะกับมือ และมีลูกกลิ้งอยู่ข้างล่าง โดยระบบคอมพิวเตอร์จะทำงานสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของลูกกลิ้ง และรับคำสั่งจากการกดปุ่มเมาส์

 สแกนเนอร์ (Scanner)

          จะทำงานโดยการอ่านรูปภาพ แล้วแปรเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถที่จะเข้าใจได้

3.5 อุปกรณ์ส่งออก (Output Device)
          ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูล อุปกรณ์ส่งออกที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
ได้แก่

จอภาพ (Monitor)

          เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่ผู้ใช้คุ้นเคยมากที่สุด ใช้แสดงผลในรูปของข้อความและรูปภาพ เริ่มแรกนั้นมีการนำเอาโทรทัศน์มาเป็นจอภาพสำหรับการแสดงผล แต่ผลที่ได้ไม่เป็นที่น่าพอใจนัก จึงมีการผลิตจอขั้นมาจอภาพนั้นมีหลายลักษณะซึ่งลักษณะที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่คุ้นเคยและพบเห็นบ่อย ๆ ได้แก่

 จอภาพแบบซีอาร์ที ( Cathode ray tube : CRT )

          จะมีลักษณะจอโค้งนูน ลักษณะการแสดงผลนั้นเริ่มแรกแสดงผลได้เฉพาะเป็นตัวอักษรเท่านั้น แต่จะมีความละเอียดสูงเรียกว่า จอภาพแบบสีเดียว (Monochrome Display Adapter :MDA ) ต่อมามีการพัฒนาจอสี (Color Graphic Adapter : CGA) ซึ่งสามารถแสดงภาพสีและภาพกราฟิกได้ แต่จะแสดงตัวอักษรและตัวเลขได้ไม่ดีเท่าจอแบบสีเดียว จอรุ่นต่อมาที่สามารถแสดงภาพกราฟิกได้ละเอียด และมีจำนวนสีมากขึ้นเรียกว่า จอสีภาพละเอียด ( Enhance Graphic Adapter: EGA )

         ส่วนจอสีภาพละเอียดพิเศษ (Video Graphic Array: VGA) เป็นจอภาพที่มีความละเอียดสูงมาก ปัจจุบันจอภาพที่ใช้สำหรับงานคอมพิวเตอร์ในด้านการออกแบบจะใช้จอภาพ เอ็กซ์วีจีเอ (eXtra Video Graphic Array : XVGA)

จอภาพแบบแอลซีดี ( Liquid Crystal Display: LCD )

เดิมเป็นจอภาพที่ใช้กับเครื่องคิดเลขและนาฬิกา แต่ปัจจุบันจะพบได้ในเครื่อง PC แบบพกพา เช่น โน้ตบุ้คหรือแล็ปท็อป จอภาพแบบนี้จะมีลักษณะแบนเรียบและบาง และได้พัฒนาให้การแสดงผลมีความละเอียดและได้ภาพที่ชัดเจน

เครื่องพิมพ์ (Printers)

          ถือเป็นอุปกรณ์แสดงผลที่สำคัญรองลงมาจากจอภาพ เพราะจะแสดงผลลัพธ์ลงบนกระดาษทำให้สะดวกต่อการใช้งาน ( อุปกรณ์ที่สามารถเก็บผลที่แสดงออกมาได้ เราเรียกว่า Hard copy ส่วนจอภาพจะเป็น Soft copy ) ลักษณะของเครื่องพิมพ์ที่ใช้กันในปัจจุบันได้แก่

เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot-Matrix Printers)

          คุณภาพของงานพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ ชนิดนี้จะขึ้นอยู่กับจำนวนจุดของเครื่อง เพราะผลที่ได้จากการพิมพ์จะมีลักษณะเป็นจุด เครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะมีราคาถูกเหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก เครื่องพิมพ์แบบจุดนี้จัดเป็นเครื่องพิมพ์แบบกระทบ
( impact printer ) คือ เวลาพิมพ์หัวพิมพ์จะกระทบกับผ้าหมึก

 เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก (Inkjet Printer)
          หลักการทำงานคือการฉีดหมึกลงบนกระดาษเป็นจุดเล็ก ๆ เพื่อให้ได้รูปแบบงานพิมพ์ที่ต้องการ งานพิมพ์ที่ได้จะมีความละเอียดกว่าเครื่องพิมพ์แบบจุดมาก เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึกนี้จัดเป็นเครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ ( Non - impact printer ) เพราะเครื่องพิมพ์แบบนี้ทำงานโดยไม่ต้องใช้แถบผ้าหมึก

เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer)

          หลักการทำงานของเครื่องพิมพ์แบบนี้ จะใช้หลักการเดียวกันกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือใช้แสงเลเซอร์ในการพิมพ์เรียกว่า LED ( Light-Emit-ting Diode) และ LCS (Liquid Crystal Shutter) ซึ่งจะพิมพ์งานออกทีละหน้า เราเรียกงานพิมพ์แบบนี้ว่า ppm ( Page per minute ) ทั้งงานพิมพ์ที่ได้ก็มีคุณภาพสูงและคมชัดมาก เวลาพิมพ์ก็ไม่ส่งเสียงดังรบกวน เครื่องพิมพ์แบบนี้จัดเป็นเครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ ( Non - impact printer ) เช่นกัน

 พล็อตเตอร์ (Plotter)

          เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มักจะใช้ในงานเขียนแบบ หรืองานด้านกราฟิก เช่นพิมพ์เขียว การพิมพ์แผนผังขนาดใหญ่ แผนที่ หัวพิมพ์จะทำงานเป็นเหมือนปลายปากกา ลักษณะงานพิมพ์จะเป็นงานที่ซับซ้อนและใช้กระดาษแผ่นใหญ่ ๆ ในการพิมพ์

 5.6 อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ

          โมเด็ม ( Modem) ย่อมาจาก Modulator-DEModulator ทำหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูล
ประโยชน์ของโมเด็มเพื่อใช้ในการสื่อสารระยะไกลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ต้องอาศัยเครือข่ายโทรศัพท์ในการสื่อสารด้วย อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลของโมเด็มมีหน่วยเป็นบิตต่อวินาที โมเด็มสามารถรับและส่งได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความ ภาพและเสียง ลักษณะของโมเด็มมี 2 แบบคือ

แบบ Internal คือ เป็นแผงวงจรเสียบเข้าภายในเครื่องคอมพิวเตอร์

           แบบ External คือ เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อภายนอกกับเครื่องคอมพิวเตอร์ แบบนี้จะมีราคาสูงกว่าแบบ Internal

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น