วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิธีใช้ photoshop รูปสีจืด…อยากได้เข้มๆ


หลังจากปรับความสว่างกันไปแป๊บๆ ก็มีปัญหารูปไม่สวยดั่งใจตามมาอีกหน
คราวนี้ถึงตารูปที่แสนจะสีจืด แทบแยกไม่ออกว่าอันไหนคนอันไหนดอกไม้ ต้นไม้ ท้องฟ้าที่ควรจะฟ๊า ฟ้า ก็ขมุกขมัว เราก็มีวิธีปรับความเข้มของรูปภาพ และการเน้นให้เข้มในส่วนต่างๆ มากฝากกันค่ะ
การปรับสีรูปในครั้งนี้ จะเป็นการปรับสีรูปทั้งรูป ข้อดีคือ เร็วกว่า (ปรับเฉพาะส่วน) แต่ข้อด้อยคือ บางส่วนที่แสงน้อยอยู่แล้วจะครึ้มลง ส่วนที่มืดก็จะยิ่งมืดไปกันใหญ่ (ข้อดี๊ดีมีมั้ยเนี่ย)
โดยวิธีปรับแสงให้ที่จ้าเกิ๊นให้มืดลงนิด และทำให้ส่วนที่เป็นสีเข้มขึ้น เราจะใช้เครื่องมือ 2 อย่าง ได้แก่
1. Image > Adjustments > Curves… (Ctrl + M)
2. Image > Adjustments > Brightness/Contrast
photoshop photoshop cs3 photoshop cs2
photoshop photoshop cs3 photoshop cs2

เอาล่ะ มาเริ่มที่เมนูแรก Curves… หรือ Ctrl + M นั่นเอง
1. เปิดรูปที่ต้องการตกแต่ง โดยเลือกที่ Flie > Open ไปไดรฟที่เก็บรูปไว้ จากนั้นก็คลิกที่รูปที่ต้องการ แล้วคลิก Open
2. ไปที่ Image > Adjustments > Curves… (Ctrl + M)
photoshop photoshop cs3 photoshop cs2
photoshop photoshop cs3 photoshop cs2
3. จะมีหน้าต่างปรับความสว่างแสดงขึ้นมา หากต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงขณะปรับรูป ให้ติ๊กที่ช่อง preview
4. เลื่อนเมาส์ให้อยู่ตรงกึ่งกลางเส้น จากนั้นคลิกเม้าส์ข้างแล้วเลื่อนเม้าส์ไปด้านเข้ม (ที่เป็นแถบด้านสีดำอ่ะ) เมื่อได้ดั่งใจแล้วก็คลิก OK
photoshop photoshop cs3 photoshop cs2
photoshop photoshop cs3 photoshop cs2
5. มาดูผลงานกัน …สว่างน้อยลงแล้วใช่ม้า…
photoshop photoshop cs3 photoshop cs2
photoshop photoshop cs3 photoshop cs2

อีกเมนูหนึ่ง Brightness/Contrast
1. เปิดรูปที่ต้องการตกแต่ง โดยเลือกที่ Flie > Open ไปไดรฟที่เก็บรูปไว้ จากนั้นก็คลิกที่รูปที่ต้องการ แล้วคลิก Open
2. ไปที่ Image > Adjustments > Brightness/contrast
photoshop photoshop cs3 photoshop cs2
photoshop photoshop cs3 photoshop cs2
3. จะมีหน้าต่างปรับความแตกต่างระหว่างความสว่างและความมืด (Brightness/Contrast) แสดงขึ้นมา หากต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงขณะปรับรูป ให้ติ๊กที่ช่อง preview
4. จากนั้น ไปที่ Contrast คลิกเม้าส์ที่ไอคอนข้างแล้วเลื่อนเม้าส์ไปด้านขวา (+) เมื่อได้ดั่งใจแล้วก็คลิก OK
photoshop photoshop cs3 photoshop cs2
photoshop photoshop cs3 photoshop cs2
5. มาดูผลงานกัน …เข้มขึ้นแล้วใช่ม้า…
photoshop photoshop cs3 photoshop cs2
photoshop photoshop cs3 photoshop cs2
จากนั้นก็ทดลองปรับความสว่างด้วย Curves ก่อน แล้วปรับสีให้เข้มขึ้นด้วย Contrast ผลก็ออกมาเป็นอย่างนี้
photoshop photoshop cs2 photoshop cs3
photoshop photoshop cs2 photoshop cs3
เราเลือกใช้ Contrast เพราะเป็นการปรับสีให้มีความแตกต่างกันมากขึ้น (ส่วน Brightness เป็นการทำให้ภาพสว่างขึ้นเช่นกันค่ะ)
เพื่อน อาจสงสัยว่า แล้วทำไมไม่แนะนำให้ใช้ทั้ง Brightness แทน Curves เหตุผลก็เพราะ เวลาใช้ Brightness นั้น จะทำให้ภาพสว่างงง…จ้าขึ้นอย่างแรงง อารมณ์ที่เห็นออกจะขาวโพลนเกินไป ก็เลยแนะนำให้ใช้ Curves ที่ปรับรูปได้สว่าง…ไม่เว่อร์เกินไปนั่นเอง
Photoshop.kapook.com

อยากให้รูปสว่างกว่านี้

กุมภาพันธ์ 26, 2009 - 3:37 pmNo Comments
ส่วนมากเวลาเราถ่ายรูปด้วยกล้องดิจิตอลมามักจะมีปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ประมาณว่าถ่ายแล้วไม่ได้ดั่งใจ ดูในกล้องก็สีสด สวย คมชัดดี แต่ทำไม๊ ทำไม พอเอามาลงเครื่อง รูปที่ว่าสวยแล้ว สีกลับซีด เบลอ บางทีก็มืดหรือสว่างเกินไปซะงั้น วันนี้เราก็มีวิธีการตกแต่งรูปง๊ายยง่ายมาฝากกันค่ะ (พวกมือโปรก็อย่ามาว่าเรานะ…เพราะนี้น่ะ แบบเบสิคจริงๆ)
อยากให้รูปสว่างกว่านี้…
มืดตึ้ดตื๋อแบบนี้ จะเห็นความสวยของเราได้ยังไง วิธีปรับรูปให้เราดูสว่าง กระจ่างใส นั้นไม่ยากค่ะ
1. เปิดรูปที่ต้องการปรับความสว่างขึ้นมา โดยเลือกที่ Flie > Open ไปไดรฟที่เก็บรูปไว้ จากนั้นก็คลิกที่รูปที่ต้องการ แล้วคลิก Open
photoshop photoshop cs3 photoshop cs2
photoshop photoshop cs3 photoshop cs2
2. เลือกที่เมนู Image > Adjustments > Curves… (หรือกด Ctrl+M หนึ่งครั้ง)
photoshop photoshop cs3 photoshop cs2
photoshop photoshop cs3 photoshop cs2
3. จะมีหน้าต่างปรับความสว่างแสดงขึ้นมา หากต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงขณะปรับรูป ให้ติ๊กที่ช่อง preview
4. เลื่อนเมาส์ให้อยู่ตรงกึ่งกลางเส้น จากนั้นคลิกเม้าส์ข้างแล้วเลื่อนเม้าส์ไปด้านสว่าง (ที่เป็นแถบด้านสีขาวอ่ะ) เมื่อได้ดั่งใจแล้วก็คลิก OK
photoshop photoshop cs3 photoshop cs2
photoshop photoshop cs3 photoshop cs2
5. มาดูผลงานกัน …สว่างขึ้นแล้วใช่ม้า…
photoshop photoshop cs3 photoshop cs2
photoshop photoshop cs3 photoshop cs2
ง๊ายง่ายเนอะ..อิอิ
Photoshop.kapook.com

แนะนำเมนูต่างๆ บนหน้าต่าง Photoshop

กุมภาพันธ์ 17, 2009 - 3:06 pm22 Comments
photoshop photoshop cs3 photoshop cs2
photoshop photoshop cs3 photoshop cs2
หลังจากได้ทำความรู้จักกับเจ้าโปรแกรม Photoshop และประโยชน์กันแล้ว วันนี้จะมาแนะนำเมนูต่างๆ บนหน้าต่าง Photoshop เพื่อเตรียมตัวใช้งานต่อไปค่ะ โดยวันนี้จะใช้ตัวอย่างของ Adobe Photoshop CS นะคะ ซึ่งหน้าตาของโปรแกรมในแต่ละรุ่นก็จะคล้ายคลึงกัน ถ้ารุ่นยิ่งใหม่ option ต่างๆ รวมทั้งความสามารถในการทำงานของโปรแกรมก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นค่ะ
1 แถบเมนู (Menu bar) แสดงคำสั่งต่างๆ ที่ใช้ในการทำงาน
2 แถบคุณสมบัติ (Option bar) แสดงรายละเอียดของเครื่องมือ (Tool) ที่เลือกใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
3 กล่องเครื่องมือ (Toolbox) ตำแหน่งที่แสดงเครื่องมือต่างๆ
4 ชุดพาเลท (Palettes) หน้าต่างพิเศษที่ช่วยในการทำงาน สามารถเพิ่มหรือลดได้ตามความต้องการ (เลือกได้จากเมนู Window จากนั้นเลือก show หรือ hide)
5 พื้นที่การทำงานหรือกระดาษวาดภาพ (Canvas) หน้าต่างงานของเราที่กำลังใช้งานอยู่
Photoshop.kapook.com

มารู้จักโปรแกรม Photoshop กันเถอะ

กุมภาพันธ์ 11, 2009 - 7:42 pm10 Comments
สวัสดีจ้า… เพื่อนๆ หลายคนคงเคยได้ยินโปรแกรม Photoshop กันนะจ้ะ วันนี้เราจะมาแนะนำให้กระจ่างกันว่า ไอ้เจ้าโปรแกรมนี้ จริงๆ แล้วคือโปรแกรมเกี่ยวกับอะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้างนะคะ
โปรแกรม Photoshop หรือที่มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า Adobe Photoshop ผลิตโดยค่าย Adobe เจ้าของซอฟต์แวร์เริ่ดๆ อีกหลายตัว อาทิ Adobe Flash, Illustrator, Dreamweaver, Premiere และ InDesign โดยในขณะนี้ Adobe ก็ได้สร้าง Photoshop มาจนถึงเวอร์ชั่น CS4 แล้ว (ก่อนหน้านี้ก็มีมานับไม่ถ้วน) โดยมีไฟลนามสกุลเป็น .psd
photoshop photoshop cs3 photoshop cs2
photoshop photoshop cs3 photoshop cs2
Adobe Photoshop เป็นโปรแกรมที่ใช้ในงานกราฟฟิคทั้งการสร้างภาพกราฟฟิคและการตกแต่งรูปค่ะ ซึ่งเพื่อนๆ สามารถทดลองใช้งานโปรแกรม Photoshop ได้โดยการดาวน์โหลดรุ่นที่เป็น Shareware มาทดลองใช้ 30 วันที่ http://www.adobe.com นะคะ
ที่นี้ เรามาทำความเข้าใจกับการทำงานด้านกราฟฟิคกันสักเล็กน้อยกันก่อนดีกว่า
ภาพกราฟฟิคแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ แบบเวคเตอร์ (Vector) และบิทแม็พ (Bitmap) โดยทั้ง 2 ประเภทนี้จะต่างกันตรงที่ ภาพแบบเวคเตอร์นั้นจะใช้เส้นในการสร้างภาพ การย่อหรือขยายจะไม่ทำให้คุณภาพของภาพเปลี่ยนแปลงไป พบในงานการ์ตูน และแอนิเมชั่น บ่อยครั้งที่เราจะเห็นมาในรูปของไฟลนามสกุล .ai (Illustrator) ค่ะ
ส่วนภาพแบบบิทแม็พนั้น จะเป็นการนำจุดที่เราเรียกว่า พิกเซล (Pixel) มาต่อกันเป็นรูปเป็นร่าง หากจำนวนพิกเซลยิ่งมาก ภาพนั้นๆ ก็จะยิ่งชัดเจน มีคุณภาพมากขึ้น แต่ภาพแบบนี้ก็มีข้อด้อยตรงที่ หากมีการลด-เพิ่มขนาด คุณภาพของภาพนั้นก็จะลดลง ตัวอย่างก็คือภาพที่เราเซฟจากอินเทอร์เน็ต รวมทั้งภาพที่ได้จากกล้องดิจิตอล
โดยที่มาของภาพที่เราคุ้นเคยกันดีก็มาจากการดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ การสแกนภาพ ภาพถ่ายจากกล้องดิจิตอล รวมทั้งภาพที่ตัดมาจากไฟลวิดีโอค่ะ ซึ่งเจ้าโปรแกรม Photoshop นี้ก็เป็นโปรแกรมที่เราคุ้นเคยที่สุดในการสร้างสรรงานกราฟฟิค ตกแต่งและดัดแปลงภาพหรือรูปถ่ายให้สวยงามตามที่ใจเราต้องการได้ค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น