หน้าที่ของหน่วยประมวลผลกลางมีดังนี้
- อ่านและแปรคำสั่งที่ถูกเขียนไว้ในโปรแกรม
- ประมวลผลตามคำสั่งที่เขียนไว้ในโปแกรม
- รับส่งข้อมูลโดยติดต่อกับหน่วยความจำภายในเครื่อง
- ติดต่อรับส่งข้อมูลกับผู้ใช้ โดยผ่านหน่วยรับข้อมูล และหน่วยแสดงผล
- ย้ายข้อมูลและคำสั่งจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่ง
โครงสร้างการทำงานของ CPU
มีส่วนประกอบ 3 ส่วนใหญ่ ๆ ซึ่งได้แก่
- Execution Unit (EU)
- Arithmetic Logic Unit (ALU)
- Bus Interface Unit
- Execution Unit จะเป็นส่วนที่ทำการคำนวณและประมวลผลคำสั่งที่ถูกนำเข้ามาภายในตัวซีพียู เมื่อกระทำคำสั่งในขั้นตอนนี้แล้ว มีการคำนวณทางด้านคณิตศาสตร์เกิดขึ้นแบบง่าย ๆ ก็จะทำการคำนวณให้เสร็จสิ้น แล้วส่งออกสู่การแสดงผล
- Arithmetic Logic Unit เป็นส่วนที่ทำหน้าที่คำนวณและเปรียบเทียบข้อมูล หรือตรวจสอบเงื่อนไขต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องไปส่งให้ส่วนการประมวลผลแบบตัวเลขทศนิยม (Math Co Processor) ทำงาน แค่ ALU ก็พอแล้ว
- Bus Interface Unit จะทำหน้าที่ในการที่ทำให้ซีพียูสามารถติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอกได้ โดยผ่านช่องทางของเจ้า Bus Interface Unit ส่วนนี้
พัฒนาการของซีพียูการพัฒนาซีพียูเป็นรุ่นต่าง ๆ ดังที่ได้เห็นได้พบกันนั้น จะมีหัวใจหลักในการพัฒนาคือในเรื่องของ ความเร็ว ,ความสามารถในการประมวลผล ,แรงไฟที่จ่ายจะต้องน้อยลงเรื่อย ๆ ทำให้ความร้อนเกิดขึ้นน้อยลง แต่ความสามารถเพิ่มขึ้นในหลาย ๆ ด้านด้วยกัน
ตารางข้างล่างนี้ จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของซีพียูรุ่นต่าง ๆ พอสังเขป
CPU | Internal Bus | CPU | Internal Bus |
Intel 8086 | 16 Bit | Intel 80386 SX | 32 Bit |
Intel 8088 | 16 Bit | Intel 80486 (80486DX) | 32 Bit |
Intel 80286 | 16 Bit | Intel 80486SX | 32 Bit |
Intel 80386 (80386DX) | 32 Bit | Intel Pentium | 64 Bit |
สืบเนื่องจากซีพียูจะมีการทำงานภายในตัวมันเองที่ความถี่สูงกว่าความถี่ของระบบ บัสภายนอกหรือที่เราเรียกว่า System Bus หรือ Front Side Bus :FSB หากเป็นเช่นนี้ซีพียูเมื่อทำงานเสร็จสิ้นก็จะต้องหยุดรอให้บัสภายนอกทำการขนถ่ายข้อมูลออกไป จึงเกิดสภาวะที่ต้องรอคอย (Wait Status) เพื่อให้บัสภายนอกทำงานให้เสร็จสิ้นก่อน จึงเท่ากับว่าถึงซีพียูจะมีความเร็วความสามารถสูงขนาดไหนก็ยังต้องเสียเวลาให้แก่บัสภายนอกอยู่ดี ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหานี้ ผู้ผลิตจึงได้กำหนดให้ซีพียูใช้ความเร็วของ System Bus ในการทำงาน เช่นเดียวกับอุปกรณ์อื่น ๆ ที่สามารถใช้ความเร็วนี้ได้เช่นกัน ส่วนนอกเหนือจากนี้ซีพียูจะทำการคูณค่าความเร็วของ System Bus ให้ได้เท่าใดก็สุดแล้วแต่จะถูกกำหนดไว้เท่าใดนั่นเอง แต่ปกติจะไม่เกินความสามารถในการทำงานของมัน หากเกินจะถือว่าเป็นการ Over Clock ซึ่งจะทำให้ซีพียูทำงานเกินตัวและอาจเสียหายหรือไม่เสถียร และอายุการใช้งานจะสั้นลงด้วย
ความเร็วซีพียู = ความเร็วระบบ System Bus (FSB) X อัตราตัวคูณ (Frequency Ration)
แรงไฟสำหรับซีพียู (CPU core voltage) จะเป็นส่วนสำคัญที่จะต้องทราบว่าซีพียูแต่ละตัวนั้นใช้แรงไฟเป็นปริมาณมากน้อยเท่าใด ซึ่งหากจ่ายแรงไฟให้แก่ซีพียูมากเกินไปกว่าทีซีพียูจะรับได้ก็จะทำให้ซีพียูเสียหายได้อย่างถาวร ดังนั้นหากคุณไม่ทราบว่าซีพียูนั้นต้องใช้แรงไฟเท่าใด ก็ให้จ่ายให้น้อยที่สุดก่อนเท่าที่ชุดจ่ายไฟจะมีให้เพื่อป้องกันซีพียูเสียหาย
แคช (Cache Memory) เป็นหน่วยความจำชนิดหนึ่งซึ่งเป็นประเภท SRAM (Static RAM) ส่วนที่เราเคยรู้จักกันส่วนใหญ่จะเป็นหน่วยความจำชนิด DRAM (Dynamic RAM) ซึ่งนำมาทำเป็น RAM ที่เป็นแผง ๆ หาซื้อได้ตามศูนย์กลางค้าด้านไอทีทั้งหลายนั่นเองหละครับ SRAM เป็นหน่วยความจำประเภททีมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลสูงเท่าซีพียู มีราคาแพงใช้ SRAM ความจุน้อยๆ มาทำเป็นหน่วยความจำในซีพียูก็จะช่วยให้การประมวลผลของซีพียูเร็วขึ้นอย่างเห็น ๆ เลยครับ Cache Memory นี้จะอยู่คั่นตรงกลางระหว่าง ซีพียูกับหน่วยความจำหลัก(RAM )นั่นเอง โดยวงจรที่เป็นตัวควบคุมแคชจะเป็นผู้คอยดูแลการนำเข้าข้อมูลจริง จากหน่วยความจำหลัก เข้ามาใน Cache Memory เมื่อซีพียูต้องการและนำข้อมูลส่วนที่ถูกแก้ไขและไม่ใช้แล้วกลับไปใส่ใน หน่วยความจำหลักคราวนี้ Cache Memory นี้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็มีให้เห็น ๆ กัน เพียง 2 ชนิด คือ
L-1 Cache (Level-1 Cache หรือเรียก L-1 Cache และ Level -2 Cache หรือเรียก L-2 Cache) และมีแนวโน้มที่จะเสริม L-3 Cache, L-4 Cache ….ไปเรื่อย ๆ )
L-1 Cache จะถูกติดตั้งไว้ในตัวซีพียู ภาษาอังกฤษเรียกว่า Cache-On-die มีความจุเพียงไม่กี่กิโลไบต์ (KB.) แต่สามารถที่จะช่วยในการทำงานของซีพียูได้เป็นอย่างมาก
L-2 Cache นั้น ตั้งแต่อดีตเป็นต้นมามันจะปรากฏอยู่บนเมนบอร์ดเป็นส่วนใหญ่ โดยติดตั้งไว้ในที่แห่งหนึ่งบนเมนบอร์ดนั้น ๆ จะสังเกตได้ง่ายครับ ส่วนใหญ่จะเป็น IC ตัวยาว ๆ มีขาประมาณ ข้างละ 14 ขา 2 ข้าง รวมก็ 28 ขา วางเรียงเป็นแถวตอน 2 แถว ๆ ละ 5 ตัว ,หรือบางรุ่นก็เป็น IC แบบขารอบตัวเป็นร้อยกว่าขาวางใกล้กันประมาณ 2 ตัว และตำแหน่งที่วางก็จะคล้าย ๆ กันคือจะไปวางอยู่ตรงมุมสี่เหลี่ยมด้านติดกับช่องเสียบ RAM นั่นแหละครับ ลองสังเกตดูให้ดี เมนบอร์ดรุ่นเก่า ๆ จะมีให้เห็นกันโดยตลอด หรือหากเครื่องถูกประกอบลงในกล่องแล้วให้ดูที่เมนบอร์ดตรงมุมที่อยู่ใกล้กับอุปกรณ์ประเภทตัวขับ (Drive) ต่าง ๆ นั่นและครับ จะเป็นที่อยู่ของ L-2 Cacheนี้เอง
- แบบซ็อคเก็ต (Socket)
- แบบสล็อต (Slot)
ซีพียูแบบซ็อคเก็ตจะมีการพัฒนาหลาย ๆ แบบ หลาย ๆรุ่นด้วยกันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีรายละเอียดดังนี้
ซีพียูของค่ายดังอย่างอินเทล จะมีรุ่นหลัก ๆ ได้แก่ 8086, 8088 ,80286, 80386 ,80486 , Pentium , Pentium MMX, Pentium Pro,Pentium Celeron บางรุ่น Pentium II บางรุ่น ,Pentium III บางรุ่น
ซีพียูของค่าดังรองลงมาอย่างเอเอ็มดี จะมีรุ่นหลัก ๆ ได้แก่ 286,386SXL,386DXL, 486DX, K5, K6,K6-II,K6-III,Duron ,Thunder Bird
ซีพียูของค่าไซริกซ์จะมีรุ่น 486SLC , 486DLC ,5X86,6X86(MI),6X86MX, MIIซีพียูในสถาปัตยกรรมแบบซ็อคเก็ตนี้จะถูกพัฒนาออกมามากที่สุด เนื่องจากเหตุผลทางด้านการค้า เช่นต้นทุนการผลิตต่ำและสามารถร่วมกันกับเมนบอร์ดรุ่นต่าง ๆ ในท้องตลาดได้ หลากหลายยี่ห้อ
แบบที่ 2 สล็อต (SLOT)
ซีพียูของค่ายอินเทล ได้แก่ Pentium Celeron บางรุ่น,Pentium II, Pentium III บางรุ่น
ซีพียูของค่ายเอเอ็มดี ได้แก่ Athlon (K7)
ฐานสำหรับเสียบซีพียู
- ฐานแบบซ็อคเก็ต (Socket)
- ฐานแบบสล็อต (Slot)
ซ็อคเก็ต 3 ใช้กับซีพียู Intel 80486DX2 , 80486DX4
ซ็อคเก็ต 4 ใช้กับซีพียู Intel Pentium รุ่นแรก ๆ ที่ความถี่ 60 – 66 MHz
ซ็อคเก็ต 5 ใช้กับซีพียู Intel Pentium , AMD รุ่น K5 ,K6 ,K6-II ,Cyrix 6X86(MI)
ช็อคเก็ต 7 ใช้กับซีพียู Intel Pentium ,Pentium MMX , AMD K5 ,K6 ,K6-II ,K6-III Cyrix 6X86(MI) , 6X86MX, M II
ซ็อคเก็ต 370 ใช้กับซีพียู Intel Pentium Celeron บางรุ่น และPentium III (Coppermine) บางรุ่น เช่นกัน
ซ็อคเก็ต A ใช้กับซีพียู AMD Duron , Thunder bird โดยเฉพาะ
ฐานแบบสล็อต
สล็อตวัน (Slot 1) ใช้กับซีพียู Intel Celeron บางรุ่น และ Intel Pentium II, III บางรุ่น
สล็อตเอ (Slot A)ใช้กับซีพียู AMD Athlon โดยเฉพาะ
หากว่า ณ วันนี้เพื่อสมาชิกมีความต้องการจะประกอบคอมพิวเตอร์สักชุดหละก้อ ต้องเลือกซีพียูกับเมนบอร์ดให้ถูกต้องด้วยนะครับ ไม่อย่างนั้นก็ไม่สามารถใช้กันได้อย่างแน่นอน สำหรับเนื้อหาในครั้งนี้คงต้องหยุดไว้แค่นี้ก่อน ฉบับหน้าคงได้มีเรื่องต่าง ๆ มีพูดคุยทั้งด้านวิชาการและสาระอื่น ๆ อีกมากมายครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น