ข้อแตกต่างระหว่าง Windows XP Mode (XPM) ใน Windows 7 กับ MED-V
บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog
วัตถุประสงค์ในการพัฒนาทั้ง Windows XP Mode (XPM) และ MED-V ของไมโครซอฟท์
บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog
วัตถุประสงค์ในการพัฒนาทั้ง Windows XP Mode (XPM) และ MED-V ของไมโครซอฟท์
ก็เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เข้ากันของโปรแกรมกับระบบปฏิบัติการตัวใหม่ หรือที่ศัพท์เทคนิค
เรียกว่าการไม่คอมแพตติเบิล (Incompatible) อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 อย่างนี้ มีข้อแตกต่างกัน
หลายอย่าง ดังนั้นเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ผมจึงรวบรวมข้อมูลนำเสนอในบทความนี้ครับ
Windows XP Mode
Windows XP Mode นั้นถูกออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับการใช้งานในองค์กรธุรกิจขนาดเล็ก เพื่อช่วยให้สามารถทำการรันแอพพลิเคชันรุ่นเก่าที่ทำงานได้เฉพาะบน Windows XP บนสภาพแวดล้ิอมเดสก์ท็อปของ Windows 7 ได้ โดยมีคุณลักษณะดังนี้
• Windows XP Mode มีให้ใช้งานเฉพาะผู้ที่ใช้ Windows 7 เวอร์ชัน Professional, Ultimate และ Enterprise เท่านั้น โดยผู้ใช้ไม่ต้องเสียค่าไลเซนส์หรือค่าซอฟท์แวร์เพิ่มเติมแต่อย่างใด
• Windows XP Mode เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง Windows Virtual PC และ เวอร์ชวลแมชชีนของ Windows XP ที่ไมโครซอฟท์คอนฟิกไว้ล่วงหน้า สำหรับการรับแอพพลิเคชันรุ่นเก่า
• Windows Virtual PC ช่วยให้ผู้ใช้เรียกใช้งานแอปพลิเคชันเก่าจาก Start menu ของ Windows 7 ในลักษณะเดียวกันกับการเปิดใช้โปรแกรมอื่นๆ ทำให้ผู้ใช้ไม่รู้สึกถึงความแตกต่างในการใช้งานระหว่างแอปพลิเคชันเก่าที่รันอยู่บน Windows XP Mode กับแอพพลิเคชันที่รันบน Windows 7
• Windows Virtual PC สามารถรองรับอุปกรณ์ USB และการทำงานแบบ Multi-threading
Microsoft Enterprise Desktop Virtualization (MED-V)
MED-V นั้นถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ โดยมีคุณลักษณะดังนี้
• MED-V ใช้ในการปรับใช้ Virtual PC ในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่
• MED-V รองรับการจัดการแบบ centralized management, policy-based provisioning และ virtual image delivery เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการปรับใช้ Virtual PC
• MED-V v1 สร้างขึ้นบนพื้นฐาน Microsoft Virtual PC 2007 เพื่อช่วยองค์กรในการอัพเกรดระบบวินโดวส์เป็น Windows Vista เมื่อประสบกับปัญหาแอพพลอเคชันไม่คอมแพตติเบิล
• MED-V v2 จะเพิ่มการสนับสนุนสำหรับ Windows 7 (ทั้ง 32 bit และ 64bit) และ Windows Virtual PC
• MED-V v2 beta จะมีให้ใช้งานได้ภายใน 90 วัน ของ Windows 7 GA (General Availability)
• MED-V ทำงานได้ทั้งบน Windows 7 และ Windows Vista
• MED-V เป็นองค์ประกอบหนึ่งของชุดโปรแกรม Microsoft Desktop Optimization Pack (MDOP) และมีให้ใช้งานเฉพาะผู้ที่ใช้ที่เป็นลูกค้าแบบ Software Assurance เท่านั้น
Windows XP Mode นั้นถูกออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับการใช้งานในองค์กรธุรกิจขนาดเล็ก เพื่อช่วยให้สามารถทำการรันแอพพลิเคชันรุ่นเก่าที่ทำงานได้เฉพาะบน Windows XP บนสภาพแวดล้ิอมเดสก์ท็อปของ Windows 7 ได้ โดยมีคุณลักษณะดังนี้
• Windows XP Mode มีให้ใช้งานเฉพาะผู้ที่ใช้ Windows 7 เวอร์ชัน Professional, Ultimate และ Enterprise เท่านั้น โดยผู้ใช้ไม่ต้องเสียค่าไลเซนส์หรือค่าซอฟท์แวร์เพิ่มเติมแต่อย่างใด
• Windows XP Mode เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง Windows Virtual PC และ เวอร์ชวลแมชชีนของ Windows XP ที่ไมโครซอฟท์คอนฟิกไว้ล่วงหน้า สำหรับการรับแอพพลิเคชันรุ่นเก่า
• Windows Virtual PC ช่วยให้ผู้ใช้เรียกใช้งานแอปพลิเคชันเก่าจาก Start menu ของ Windows 7 ในลักษณะเดียวกันกับการเปิดใช้โปรแกรมอื่นๆ ทำให้ผู้ใช้ไม่รู้สึกถึงความแตกต่างในการใช้งานระหว่างแอปพลิเคชันเก่าที่รันอยู่บน Windows XP Mode กับแอพพลิเคชันที่รันบน Windows 7
• Windows Virtual PC สามารถรองรับอุปกรณ์ USB และการทำงานแบบ Multi-threading
Microsoft Enterprise Desktop Virtualization (MED-V)
MED-V นั้นถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ โดยมีคุณลักษณะดังนี้
• MED-V ใช้ในการปรับใช้ Virtual PC ในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่
• MED-V รองรับการจัดการแบบ centralized management, policy-based provisioning และ virtual image delivery เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการปรับใช้ Virtual PC
• MED-V v1 สร้างขึ้นบนพื้นฐาน Microsoft Virtual PC 2007 เพื่อช่วยองค์กรในการอัพเกรดระบบวินโดวส์เป็น Windows Vista เมื่อประสบกับปัญหาแอพพลอเคชันไม่คอมแพตติเบิล
• MED-V v2 จะเพิ่มการสนับสนุนสำหรับ Windows 7 (ทั้ง 32 bit และ 64bit) และ Windows Virtual PC
• MED-V v2 beta จะมีให้ใช้งานได้ภายใน 90 วัน ของ Windows 7 GA (General Availability)
• MED-V ทำงานได้ทั้งบน Windows 7 และ Windows Vista
• MED-V เป็นองค์ประกอบหนึ่งของชุดโปรแกรม Microsoft Desktop Optimization Pack (MDOP) และมีให้ใช้งานเฉพาะผู้ที่ใช้ที่เป็นลูกค้าแบบ Software Assurance เท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น